関西ビジネス:兵庫
ข้อมูลจังหวัดเฮียวโกะ | |
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา กรกฎาคม 2557 |
|
![]() |
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.โอซากา จ.เกียวโต จ.ทตโตะริ และ จ.โอคายามา พื้นที่ : 8,396 ตร.กม. (มากอันดับ 12 ของญี่ปุ่น; ; มีเมืองหลวง คือเมืองโกเบ) ประชากร : 5,571,000 คน (มากอันดับ 7 หรือประมาณ 4.37 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2555) GDP : 18.35 ล้านล้านเยน (มากอันดับ 8 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) GDP per Capita : 2,687,000 เยน (มากอันดับ 22 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) |
ผู้บริหารท้องถิ่น | - นาย Toshizo Ido ผู้ว่าราชการจังหวัดเฮียวโกะ (อิสระ, ได้รับการสนับสนุนจาก LDP, New Komeito และ SDP) (สมัยที่ 4; 2544, 2548, 2553, และ 2556), ตำแหน่งประธานสหภาพการบริหารภาครัฐเขตคันไซ (2553) - นาย Kizo Hisamoto นายกเทศมนตรีเมืองโกเบ (สนับสนุนโดย LDP, New Komeito และ DPJ) (สมัยแรก; 2556) |
โครงสร้างรายได้ของจังหวัด (2554) | ภาคบริการ (23.56%) ภาคการผลิต (21.19%) อสังหาริมทรัพย์ (16.60%) การค้าปลีกค้าส่ง (9.98%) การสื่อสารและคมนาคม (7.31%) อื่น ๆ (21.36%) |
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ | การพัฒนานวัตกรรม จังหวัดเฮียวโกะนอกจากจะเป็นที่ตั้งของท่าเรือโกเบซึ่งเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญแล้ว ยังมีความหลากหลายของกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมหนักและกลุ่ม SMEs ที่มีความโดดเด่นทางด้านเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความหลากหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ ด้วย เช่น เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ “K” ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 80,000 เครื่อง ซึ่งช่วยส่งเสริมให้จังหวัดเป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพและพลังงานขั้นสูง มีเครื่อง “SPring-8” ซึ่งเป็นเครื่องสร้างการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Large-scale synchrotron radiation facility) หนึ่งในสี่เครื่องในโลก และเครื่อง SACLA (X-ray Free-Electron Laser) โดยทั้ง 2 อุปกรณ์ดังกล่าวมีสถานที่ตั้งอยู่ติดกัน ทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้อุปกรณ์เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้าน Nanotechnology ร่วมกันได้ Kobe Medical Industry Development Project เพื่อพัฒนาเมืองโกเบให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง รวมถึงจะมีการสร้าง Port Island ขึ้นกลางทะเลให้เป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อระหว่าง Kobe airport และย่านธุรกิจของเมือง โดยบริเวณเกาะจะรวบรวมบริษัทเอกชนต่าง ๆ กว่า 200 บริษัท เพื่อเชื่อมโยงกับ Kobe Biomedical Innovation Cluster ซึ่งเป็นการรวบรวมมหาวิทยาลัย และสถาบันที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์เข้าด้วยกัน |
อุตสาหกรรมหลัก | อุตสาหกรรมหนัก เหล็ก การประกอบเรือ เครื่องจักรกล |
ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ | ข้าว Yamada Nishiki ที่ใช้ผลิตเหล้าสาเก, เนื้อวัวโกเบ (Kobe beef), ถั่วดำ Tambaguro, และหัวหอม Iwatsu |
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด | Kawasaki Heavy Industries, Toshiba Corporation, Fujitsu, Mitsubishi Electric Corporation, และ Kobe steel |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | ปราสาท Himeji, Kobe Harborland, หมู่บ้านยุโรป Kitano, และบ่อน้ำพุร้อน Arima |
ข้อมูลที่น่าสนใจ | - ท่าเรือ Kobe มีการขนส่งทางเรือ 2,567,000 ตัน มากเป็นอันดับ 4 ของญี่ปุ่น (2555) - เมืองโกเบได้รับการคัดเลือกเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชียสำหรับชาวต่างชาติ อันดับ 3 (2557) - ปลูกข้าว Yamada Nishiki ได้ 15,955 ตัน ซึ่งใช้ผลิตเหล้าสาเก ( มากอันดับ 1 หรือ 78.9% ของญี่ปุ่น) - ปราสาท Himeji เป็นสถานที่แรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของญี่ปุ่น เมื่อปี 2536 - เนื้อโกเบเป็นหนึ่งในสุดยอดเนื้อของญี่ปุ่นร่วมกับเนื้อมัสซึซากะและเนื้อโอมิ โดยสามารถส่งออกได้ 31.7 ตัน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่มีการนำเข้าเนื้อโกเบ และในปี 2556 มีการนำเข้าจำนวน 300 กิโลกรัม |
ความสัมพันธ์กับไทย | - จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 684 คน (มกราคม 2557) - มีการจัดตั้ง Hyogo International Business Support Desk ในกรุงเทพฯ - จ. เฮียวโกะ มอบรางวัล Ko Ro Sho (Award of Merit) ให้แก่ นายสุพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีต กสญ. ณ นครโอซากา ในฐานะผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ จ. เฮียวโกะ - นาย Toshizo Ido ผวจ. เยือนไทย 3 ครั้ง ได้แก่ ปี 2546 เข้าร่วมการประชุม EMECS ครั้งที่ 6 ณ กรุงเทพฯ ใน ปี 2548 นำคณะผู้บริหารระดับสูงของเขตคันไซเยือน จ. ภูเก็ต พร้อมมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ 9.3 ล้านบาท รวมถึงแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับการบรรเทาภัยพิบัติและการฟื้นฟู และในปี 2549 เดินทางไปเปิดสวน Kansai Culture Garden ซึ่งเป็นความร่วมมือของ จ.เฮียวโกะ จ.โอซากา และ จ.เกียวโต และร่วมงานราชพฤกษ์ที่ จ. เชียงใหม่ - เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 55 สกญ. ณ นครโอซากา ได้นำคณะหุ่นกระบอก โจ-หลุยส์ มาแสดงที่เมืองโกเบ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - มีการจัดตั้งสมาคมชาวเฮียวโกะขึ้นในประเทศไทย |