- หน้าหลัก
- ข้อมูล-กิจกรรมที่น่าสนใจ
- 関西ビジネス:関西
関西ビジネス:関西
ข้อมูลเขตคันไซ | |
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา กันยายน 2557 |
|
![]() |
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู ทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น มีจังหวัดในอาณาเขต ได้แก่ จ.มิเอะ จ.โอซากา จ.เฮียวโกะ จ.ชิกะ จ.เกียวโต จ.นารา และ จ.วากายามา พื้นที่ : 32,857 ตร.กม. (ประมาณ 9 % ของญี่ปุ่น) ประชากร : 22,685,000 คน (ประมาณ 17.79 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2555) GDP : 84.54 ล้านล้านเยน (ประมาณ 17.06 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) GDP per Capita : 2,771,000 เยน (ข้อมูลปี 2553) |
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ | ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคตะวันตกญี่ปุ่น โดย GDP ของคันไซมีขนาดใกล้เคียงกับ GDP ของเกาหลีใต้ มีเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญหลายแห่ง เช่น นครโอซากา เมืองเกียวโต และเมืองโกเบ โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก เช่น Solar cell และแบตเตอรี Lithium Ion ซึ่งคันไซสามารถผลิตได้มากที่สุดในญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมี SMEs จำนวนมาก ที่มีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนและวัสดุที่มีคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้อย่างเพียงพอ และที่สำคัญยังมีความสัมพันธ์กับเอเชียอย่างใกล้ชิด โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าจากคันไซไปเอเชียมากกว่าญี่ปุ่นทั้งหมดไปเอเชีย ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ดังเช่น สนามบินนานาชาติคันไซ ซึ่งเป็นสนามบินแห่งเดียวในญี่ปุ่นที่ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตลอด 24 ชั่วโมง ศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตเชิงสร้างสรรค์ คันไซเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตเชิงสร้างสรรค์ (Monozukuri) ที่สำคัญของญี่ปุ่น โดยมีการพัฒนาคุณภาพการผลิตและการบริการอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้จากการกำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับการวิจัยและพัฒนาอย่างชัดเจน ดังเช่น Kansai Innovation International Strategic Comprehensive Special Zone ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง จ.โอซากา จ.เฮียวโกะ และ จ.เกียวโต ในการกำหนดพื้นที่พิเศษ 9 แห่ง เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ในด้าน Life science และ New energy โดยมีสินค้าเป้าหมาย 6 ประเภท คือ เวชภัณฑ์ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง ชุดตรวจจับโรค แบตเตอรี่ และการนำเทคโนโลยีผสมผสานวิถีชีวิต (Smart community) หรือ Kobe Medical Industry Development Project ซึ่งเป็นการพัฒนาเมืองโกเบให้เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เป็นต้น |
โครงสร้างการนำเข้า (2555)(*) | มูลค่าสินค้านำเข้าประมาณ 13.5 ล้านล้านเยน โดยมีตลาดนำเข้าสำคัญ คือ เอเชีย (55.6%, รวมจีน 31.7%) ยุโรป (10.1%) อเมริกา (6.7%) โดยมีสินค้าสำคัญ คือ แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน (23.6%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (13.8%) เคมีภัณฑ์ (12.3%) ผลิตภัณฑ์อาหาร (9.2%) เครื่องจักรกล (7.6%) เครื่องแต่งกาย (7.6%) และอื่น ๆ (25.9%) |
โครงสร้างการส่งออก (2555)(*) | มูลค่าสินค้าส่งออกเท่ากับ 13.6 ล้านล้านเยน โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ เอเชีย (67.8%, รวมจีน 23.5%) ยุโรป (12.1%) อเมริกา (11.6%) โดยมีสินค้าสำคัญ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้า (27.5%) เครื่องจักรกล (23%) เคมีภัณฑ์ (12.6%) เหล็ก (5.8%) อุปกรณ์ด้านการคมนาคม (4.9%) อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ (4.6%) อื่น ๆ (21.6%) |
บริษัทญี่ปุ่นที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตคันไซ | Nintendo, Mizuno, Omron, Sanyo Electric, Konica Minolta, Mitsubishi Electric, Kyocera, Sharp, Wacoal, Panasonic, Kansai Electric Power, Kawasaki heavy industries และ Takeda Pharmaceutical เป็นต้น |
ข้อมูลที่น่าสนใจ | - มูลค่าการผลิตรวมเท่ากับ 5.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (16.8 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2555) (**) - จำนวนแรงงานในภาคการผลิต 1,212,000 คน (16.3 % ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2555) (**) - เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลใหญ่ 18 แห่ง เช่น ไทย สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย เป็นต้น - มีบริษัทระดับโลกเข้ามาลงทุนในคันไซ แบ่งเป็นจากยุโรป 43.6% อเมริกาเหนือ 32% และเอเชีย 21.3% (2555) (*) - มูลค่าการผลิตอุปกรณ์การแพทย์และยารวม 1.8 ล้านล้านเยน (ประมาณ 29%, เป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น) (2553) (**) - มูลค่าการผลิต Solar cell ประมาณ 2.5 แสนล้านเยน (ประมาณ 78 %,เป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น) และมูลค่าการผลิตแบตเตอรี ลิเทียม-ไอออน ประมาณ 2.28 แสนล้านเยน (ประมาณ 82 %,เป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น) (2553) (**) - มีสถานที่ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 5 แห่ง มากเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคในญี่ปุ่น - เมืองที่ได้รับการประเมินเป็นอันดับหนึ่งในเอเชีย (**) เช่น นครโอซากาเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุด (2552) เมืองเกียวโตได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวมากที่สุด (2552) และเมืองโกเบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-City) มากที่สุด (2553) |
ความสัมพันธ์กับไทย | - จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 4,768 คน (มกราคม 2557) - สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ นครโอซากา เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2532 มีเขตอาณา 7 จังหวัด ได้แก่ จ.มิเอะ จ.โอซากา จ.เฮียวโกะ จ.ชิกะ จ.เกียวโต จ.นารา และ จ.วากายามา - งานเทศกาลไทยนครโอซากา ครั้งที่ 1 – 11 (ครั้งแรก ปี 2545) |
* ข้อมูลเขตคันไซตามนิยามของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) ได้แก่ จ.โอซากา จ.เฮียวโกะ จ.ชิกะ จ.เกียวโต จ.นารา จ.วากายามา และ จ.ฟุคุอิ ** ข้อมูลเขตคันไซตามนิยามขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ได้แก่ จ.โอซากา จ.เฮียวโกะ จ.ชิกะ จ.เกียวโต จ.นารา และ จ.วากายามา |