- หน้าหลัก
- ข้อมูล-กิจกรรมที่น่าสนใจ
- 関西ビジネス:京都
関西ビジネス:関西
ข้อมูลจังหวัดเกียวโต | |
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา กันยายน 2557 |
|
![]() |
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.เฮียวโกะ จ.ฟุคุอิ จ.ชิกะ จ.มิเอะ จ.นารา และ จ.โอซากา พื้นที่ : 4,613 ตร.กม. (อันดับ 31; มีเมืองหลวง คือเมืองเกียวโต) (ข้อมูลปี 2554) ประชากร : 2,630,000 คน (อันดับ 13 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2554) GDP : 9.37 ล้านล้านเยน (อันดับ 13 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) GDP per Capita : 2,726,000 เยน (มากอันดับ 18 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) |
ผู้บริหารท้องถิ่น | - นาย Keiji Yamada ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโต (อิสระ, ได้รับการสนับสนุนจาก DPJ , LDP , NKP และ SDP), สมัยที่ 4 (2545, 2549, 2553, 2557); ประธานสมาคมผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งญี่ปุ่น วาระที่ 2 (2554, 2556) - นาย Daisaku Kadokawa นายกเทศมนตรีเมืองเกียวโต (อิสระ, ทุกพรรคสนับสนุน ยกเว้น JCP), สมัยที่ 2 (2551, 2555) |
โครงสร้างอุตสาหกรรม (2556) | ภาคบริการ (19.7%) ภาคการผลิต (18.4%) อสังหาริมทรัพย์ (17.1%) การค้าปลีก/ค้าส่ง (11.9%) การบริการภาครัฐ (9.4%) การคมนาคม (4.3%) การก่อสร้าง (4.3%) ด้านการเงินการประกันภัย (4.0%) อื่น ๆ (10.9%) |
จุดแข็งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ | การผสมผสานวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ จังหวัดเกียวโตเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นมานานกว่า 1,000 ปี ทำให้มีประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมมากมายที่พัฒนาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ความเป็นเกียวโต ควบคู่ไปกับการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ที่โดดเด่นอย่างสมดุล ดังที่มีบริษัทระดับโลกหลายแห่งมีต้นกำเนิดและตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกียวโต โดยในปัจจุบันเกียวโตมีนโยบายที่จะดึงดูดกลุ่มธุรกิจทางด้านเทคโนโลยี และ IT ให้เข้ามาลงทุนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดก็มีความโดดเด่นเช่นกัน โดยในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาในจังหวัดและพักค้างมากถึง 13.8 ล้านคน ศักยภาพของ SMEs จ.เกียวโต มีการรวมกลุ่ม SMEs อย่างเข้มแข็งและมีกิจกรรมทางธุรกิจร่วมกันหลายรูปแบบ ทั้งยังมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ โดยในปัจจุบันมีบริษัทจากเกียวโตเข้าลงทุนในไทยแล้วทั้งหมด 28 แห่ง ที่สำคัญ SMEs ใน จ.เกียวโต ต่างผลิตชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากแหล่งอื่น โดยเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระหว่างปี 2550-2554 พบว่า จ.เกียวโตมีจำนวนบริษัทมากเป็นอันดับ 12 หากแต่ จ.เกียวโตสามารถเก็บภาษีเงินได้มากเป็นอันดับ 7 ของญี่ปุ่น สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่มของ SMEs ในจังหวัดได้อย่างดี |
อุตสาหกรรมหลัก | อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการคมนาคม เครื่องมือตวงวัด อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ |
ผลิตภันฑ์ดั้งเดิม | สินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น ชุดกิโมโน เหล้าสาเก พัดเกียวโต (Cypress fan) ตุ๊กตาเกียวโต (Gyokubo Kannon Sama) |
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด | Nintendo, Intelligent Systems, TOSE, OMRON, Kyocera, Wacoal, Rohm, Horiba, Nidec, และ GS Yuasa. |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | แหล่งอุทยานประวัติศาสตร์แห่งเกียวโต ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยมีสถานที่สำคัญ เช่น วัดคินคะคุจิ (วัดทอง) วัดคิโยมิสึ (วัดน้ำใส) และปราสาทนิโจ (Nijo Castle) เป็นต้น |
ข้อมูลที่น่าสนใจ | - มีกำลังคนภาคแรงงานจำนวน 1,219,000 คน มากเป็นอันดับ 13 ของญี่ปุ่น (2553) - มีการขนส่งสินค้าทางเรือมีมูลค่าอันดับ 1 หลายประเภท เช่น เครื่องวัดมลภาวะรวมมูลค่า 18.5 พันล้านเยน (67% ของญี่ปุ่น) และชุดกิโมโนสำเร็จรูปรวมมูลค่า 4.7 พันล้านเยน (29% ของญี่ปุ่น) เป็นต้น (2553) - มีสถานที่สำคัญที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติเป็นอันดับ 2 (16.6%) ของญี่ปุ่น (2556) - เป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังอิมพีเรียล เกียวโต ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นกับพระราชวงศ์ ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่โตเกียว - เป็นอดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่นยาวนานกว่า 1,200 ปี มีมรดกทางประวัติศาสตร์มากมายติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีสถานที่สำคัญที่ UNESCO กำหนดให้เป็นมรดกโลกถึง 17 แห่ง - เป็นสถานที่เจรจาและบรรลุซึ่งพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) |