- หน้าหลัก
- ข้อมูล-กิจกรรมที่น่าสนใจ
- 関西ビジネス:和歌山
関西ビジネス:兵庫
ข้อมูลจังหวัดวากายามา | |
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา กันยายน 2557 |
|
![]() |
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตคันไซของภูมิภาคคิงกิ เกาะฮอนชู มีอาณาเขตติดต่อกับ จ.โอซากา จ.นารา และ จ.มิเอะ พื้นที่ : 4,726 ตร.กม. (อันดับ 30 หรือประมาณ 1.3 % ของญี่ปุ่น ; เมืองหลวง คือเมืองวากายามา) ประชากร : ประมาณ 979,354 คน (อันดับ 40) (ข้อมูลปี 2556) GDP : 3.50 ล้านล้านเยน (อันดับ 39 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) GDP per Capita : 2,548,000 เยน (อันดับ 29 ของญี่ปุ่น) (ข้อมูลปี 2553) |
ผู้บริหารท้องถิ่น | - นาย Yoshinobu Nisaka ผู้ว่าราชการจังหวัดวากายามา (สนับสนุนโดยพรรค LDP), สมัยที่ 2 (2549, 2553) - นาย Kenichi Ohashi นายกเทศมนตรีเมืองวากายามา สมัยที่ 3 (2545, 2549, 2553) |
โครงสร้างรายได้ของจังหวัด (2554) | ภาคการผลิต (27.8%) ภาคบริการ (16.8%) อสังหาริมทรัพย์ (12.1%) การค้าปลีกค้าส่ง (9.9%) การก่อสร้าง (5.6%) การเงินและการประกันภัย (4.1%) อุตสาหกรรมขนส่ง (3.5%) ค่าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำ (2%) อื่น ๆ (18.2%) |
จุดแข็งด้านเศรษฐกิจ | ความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง จ.วากายามา ตั้งอยู่ใกล้สนามบินนานาชาติคันไซ และมีท่าเรือขนาดใหญ่ ได้แก่ ท่าเรือ Shimotsu ทำให้เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการขนส่งสินค้าทั้งทางอากาศและทางทะเลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายการจราจรทางบกที่เชื่อมต่อทางพิเศษกับเมืองใหญ่ในภูมิภาคคันไซได้หลายเส้นทาง ศักยภาพด้านเกษตรกรรม จ.วากายามา มีชื่อในเรื่องการเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส้ม ลูกพลับ และลูกบ๊วย นอกจากนี้ยังมีการจัดทำยุทธศาสตร์เร่งด่วนด้านอุตสาหกรรมการเกษตรของจังหวัด เพื่อผลักดันให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ รวมถึงยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจำหน่ายอาหารแปรรูป สินค้าเกษตรและประมง การส่งเสริมอุตสาหกรรม จ.วากายามา เป็นถิ่นกำเนิดของบริษัทมากมายที่บุกเบิกนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมเหล็กและปิโตรเคมี จังหวัดยังมีการสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น ดังเช่น มีเงินอุดหนุนในงบประมาณไม่เกิน 10,000 ล้านเยน สำหรับบริษัทที่จะเข้ามาลงทุนหรือขยายการลงทุนในจังหวัดตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเป็นวงเงินอุดหนุนที่มากที่สุดในญี่ปุ่น และกองทุนให้กู้ยืมสำหรับธุรกิจใหม่หรือการขยายโรงงานการผลิตแห่งใหม่ในจังหวัด เป็นต้น |
อุตสาหกรรมหลัก | ปิโตรเลียม, เคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมเหล็ก, เครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมอาหาร |
ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม | ผลิตส้ม, พลับ, ลูกบ๊วย, ฮัซซาขุ (พืชตระกูลส้ม), ซันโซ (พริกไทยญี่ปุ่น), ลูกพลัม, กีวี, และลูกพีช |
บริษัทญี่ปุ่นที่สำคัญในจังหวัด | Sumitomo Metal Industries, Kao Corp., Shima Seiki, Tonen General Sekiyu, Noritsu Koki, และPanasonic |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | - เส้นทางจาริกแสวงบุญที่ภูเขาคิอิ (Kii mountain) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยมีสถานที่ที่มีชื่อเสียงทั้งด้านธรรมชาติที่สมบูรณ์และสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่ามากมาย เช่น เส้นทางแสวงบุญบริเวณทิวเขา Kumano, วัด Koyasan - ธรรมชาติที่สมบูรณ์ของทะเลที่ อ. Kushimoto ซึ่งได้รับการจดทะเบียนสนธิสัญญา Ramsar Convention |
ข้อมูลที่น่าสนใจ | - มีกำลังคนภาคแรงงานทั้งหมดประมาณ 451,000 คน (อันดับ 40 ของญี่ปุ่น) (2553) - มีบริษัทจำนวนมากที่เปิดดำเนินการมายาวนานกว่า 100 ปี และได้สืบทอดเทคโนโลยีดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับจังหวัดด้วย ดังเช่น บ. Surugaya ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2004 (ผลิตขนมญี่ปุ่น), บ. Misoya Gofukuten ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2038 (จำหน่ายผ้าและชุดกิโมโน) เป็นต้น - สามารถผลิตส้มฮัซซาขุ, พลับ, บ๊วย, และพริกไทยซันโซได้มากเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น /ผลิตลูกพลัม และกีวี ได้เป็นอันดับ 3 / ผลิตลูกพีช ได้เป็นอันดับ 4 (ข้อมูลปี 2554) - มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญทางวัฒนธรรมมากเป็นอันดับ 6 ในญี่ปุ่น |
ความสัมพันธ์กับไทย | - จำนวนคนไทยที่ลงทะเบียนทางการ 400 คน (มกราคม 2557) - ผวจ. ได้นำคณะเดินทางไปเยือนไทยเมื่อเดือน พ.ค. 2556 ในเรื่องความร่วมมือทางด้านการส่งออกอาหารของจังหวัด และทางด้านการท่องเที่ยว - ในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปพักค้างที่จังหวัด 452 คน - มีบริษัทจากวากายามาเข้าไปลงทุนในไทยจำนวนมาก เช่น บ. Acro (ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์), บ. Kotobuki Tech (ผลิตเครื่องจักร แม่พิมพ์และชิ้นส่วนโลหะ) และ บ. Taiyo Technolex (ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นต้น - มีร้านอาหารไทยจำนวน 10 ร้าน และร้านนวดแผนไทย 20 ร้าน โดยส่วนใหญ่คนไทยเป็นเจ้าของกิจการ (2557) |