- หน้าหลัก
- เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ร่วมงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย ที่จังหวัดเกียวโต
เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ร่วมงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย ที่จังหวัดเกียวโต
2021/10/19
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
ร่วมงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย ที่จังหวัดเกียวโต
********************
วันที่ 17 ต.ค. 2564 นายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และนายกฤษณ์ ตันคณารัตน์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ร่วมเปิดงานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย กับนาย Shigeyo Kimura ประธานสมาคมแลกเปลี่ยนการศึกษาญี่ปุ่น-ไทย นาย Hiroshi Sugaya ประธานสภาจังหวัดเกียวโต และนาย Ishida Munehisa ประธานสมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทยแห่งสภาจังหวัดเกียวโต ที่ Kyoto City International Community House จังหวัดเกียวโต มีสมาชิกสมาคมแลกเปลี่ยนการศึกษาญี่ปุ่น-ไทย สมาชิกสภาจังหวัดเกียวโต และมิตรชาวญี่ปุ่นที่สนใจเข้าร่วมงานประมาณ 100 คน
เอกอัครราชทูตฯ และกงสุลใหญ่ฯ กล่าวแสดงความยินดีกับสมาคมฯ ที่สามารถจัดงานในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด มีการแสดงหน้าเวทีสลับกับการถ่ายทอดสดจากไทย ซึ่งการแสดงเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น เช่น การแสดงนาฏศิลป์ไทยโดยชาวญี่ปุ่น การตีกลองและเป่าขลุ่ยญี่ปุ่นโดยนักเรียนไทย ทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับรู้ถึงความเหมือนและความต่างของวัฒนธรรมของสองประเทศ
ช่วงการบรรยาย “ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในมุมมองของเอกอัครราชทูต”เอกอัครราชทูตฯ กล่าวถึง ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางมา 134 ปี ไทยและญี่ปุ่นได้ช่วยเหลือเกื้อหนุนกันมาตลอดเริ่มตั้งแต่ “ปลานิล” ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น หลังจากที่นำมาเพาะพันธุ์ในไทย ปัจจุบันกลายเป็นอาหารยอดนิยม เป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้และอาชีพให้แก่คนไทย และไทยยังนำไปมอบให้ประเทศในแถบแอฟริกาเพาะพันธุ์ต่อ หรือการที่ไทยได้มอบความช่วยเหลือเมื่อญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนั้น คนไทยและคนญี่ปุ่นมีทั้งความเหมือนและความต่าง ซึ่งสามารถเสริมสร้างและสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ดี
งานวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย นครเกียวโต จัดโดยสมาคมแลกเปลี่ยนการศึกษาญี่ปุ่น-ไทย เป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีของ
จังหวัดเกียวโตตั้งแต่ปี 2559 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่การจัดงานครั้งนี้ช่วยคลายความคิดถึงประเทศไทยในหมู่คนญี่ปุ่นที่ชื่นชอบประเทศไทยและคนไทยในจังหวัดเกียวโต ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ยังไม่สามารถเดินทาง
ไปมาหาสู่กันได้ตามปกติ
********************
« บทความเรื่อง Thai Innovators Step Up to Fight the Pandemic | บทความหัวข้อThe Grand Tour That Saved a Nation: King Chulalongkor... »